System integration อีกหนึ่งระบบช่วยจัดการงานด้านโลจิสติกส์

System Integration (AI) จัดเป็นอีกหนึ่งระบบที่มีความทันสมัย ซึ่งเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน ในโรงงานที่มีการใช้งาน AI และระบบ Automation มีความโดดเด่นในเรื่องของการใช้ทรัพยากรบุคคลน้อย ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และเพิ่มความละเอียดให้กับงานได้มาก และเป็นระบบที่นำมาใช้ให้เข้ากับการงานด้านโลจิสติกส์ยุคปัจจุบันได้ดี

System Integration (AI) ทำให้การทำงานโลจิสติกส์ง่ายขึ้น

สำหรับระบบนี้ จัดเป็นระบบที่ช่วยในการจัดการงานโลจิสติกส์แบบบูรณาการ โดยมีหัวใจสำคัญของการใช้ระบบนี้ก็คือเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้อย่างดีที่สุด ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่าย ในการผลิตสินค้าและส่งสินค้า เพื่อตอบสนองต่อคำขอของลูกค้าได้อย่างทันท่วงที สำหรับระบบโลจิสติกส์แบบบูรณาการ System Integration นี้ จะมีการมุ่งเน้นไปที่การบริการเป็นหลัก แต่ถึงกระนั้นก็ยังรวมถึงการดำเนินการที่ช่วยย้ายผลิตภัณฑ์จากแหล่งวัตถุดิบ ไปส่งถึงมือลูกค้าซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายอีกด้วย

การประยุกต์ใช้ระบบ System Integration

ระบบการจัดการโลจิสติกส์แบบบูรณาการนี้ สามารถนำไปปรับใช้ได้ ตั้งแต่ช่วงของการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบหรือส่วนประกอบต่าง ๆ ไปยังบริษัทผู้ผลิต ซึ่งจะต้องได้รับการจัดการอย่างรวดเร็วอย่างมืออาชีพ จัดเป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด หลังจากนั้นจึงมีการเคลื่อนย้ายสินค้าสำเร็จรูป ที่ผ่านกระบวนการจากโรงงานผลิต ไปสู่ขั้นตอนการแปรรูปต่อไป ซึ่งก็จะนำไปสู่ขั้นตอนการขายปลีก จนกระทั่งถึงมือผู้บริโภคเป็นขั้นสุดท้ายนี้เอง ซึ่งระบบเหล่านี้ก็คือการจัดการโลจิสติกส์แบบบูรณาการหรือ System Integration นั่นเอง   

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ ระบบโลจิสติกส์แบบบูรณาการ (System Integration)

  • การกระจายสินค้า
  • การจัดการวัสดุ
  • วิศวกรรมโลจิสติก
  • ธุรกิจโลจิสติกส์
  • การจัดการโลจิสติก
  • การจัดการโลจิสติกส์แบบบูรณาการ
  • การจัดการการจัดจำหน่าย
  • การจัดการห่วงโซ่อุปทาน

ถึงแม้ว่ากิจกรรมเหล่านี้จะรวมอยู่ภายใต้แต่ละการทำงานที่แตกต่างกันไป แต่ก็มีส่วนสำคัญอย่างหนึ่งร่วมกัน นั่นก็คือแนวคิดเรื่องการของการจัดการผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง   นอกจากนี้ในเรื่องของการขนส่ง ก็จำเป็นในการจัดการทั้งสำหรับขาออก, ขาเข้า และกระบวนการแปลงครบทั้งวงจร ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าเข้า,นำผ่าน และออกจากโรงงานหรือคลังสินค้า จัดเป็นกิจกรรมด้านลอจิสติกส์ที่แพงที่สุด คิดเป็น 50% ขึ้นไปของต้นทุน  หากทุกกิจกรรมทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ และถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงของเวลาขนส่ง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาดำเนินการ, ไม่มีการสูญเสียหรือเกิดการสร้างความเสียหาย ตลอดจนไม่มีส่วนลดปริมาณสำหรับการขนส่ง ไม่มีส่วนลดตามปริมาณสำหรับผลิตภัณฑ์ และถ้าบริษัทสามารถคาดการณ์ความต้องการได้อย่างแม่นยำ ก็ไม่จำเป็นในการจัดเก็บสินค้าจำนวนมากอีกต่อไป

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *